โจรสลัดโรโคโค ตอน การผจญภัยในหัวรินนคร
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แฟชั่นชาวเชียงใหม่
ขอขอบคุณ : http://monolurf.exteen.com/20081024/entry-1
http://www.lovercorner.com/webboard/view_topic.php?pid=25
สมาชิกกลุ่มโจรสลัดโรโคโค
นาย จาตุรนต์ ชัยสิทธิ์ 532110015
นางสาว จุฑามาส สันติภาพ 532110016
นาย เฉลิมพล สาธิตคุณ 532110017
นาย ชนะพงษ์ วงศ์จันทร์ 532110018
นางสาว ชนัฐธร วาฤทธิ์ 532110019
การผจญภัยในหัวรินนคร
บ้านแจ่งหัวรินนคร
บ้านแจ่งหัวรินนคร กรีกโรมันกลางเมืองล้านนา
หากได้มีโอกาสผ่านมาทางถนนมณีนพรัตน์ คงไม่มีใครไม่เคยหยุดเพื่อมองอาคารสีขาวรูปทรงแปลกตา ขัดกับบริเวณโดยรอบ ข้าพเจ้าเองก็เช่นกัน เรียกได้ว่าประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเห็นเลยก็ว่าได้ เพราะถึงแม้ว่าทุกวันนี้ สถาปัตยกรรมกรีกโรมันสอดแทรกอยู่ในอาคารบ้านเรือนแทบทุกหัวระแหงก็ตาม แต่หาได้ยากที่จะมีความเป็นกรีกโรมันอย่างเข้มข้นอย่างที่นี่ ทุกครั้งที่นั่งรถผ่านก็อดไม่ได้ที่จะจ้องมองพรางคิดไปเพลินๆว่าที่นี่เป็นบ้านคนหรือเปล่า แล้วเหตุใดจึงเลือกที่จะสร้างท่ามกลางเมืองเชียงใหม่ที่ไม่ได้มีความใกล้เคียงกันเลยแบบนี้
ในส่วนนี้จะขออธิบายถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมที่กำลังจะเข้าไปศึกษาว่าเป็นแบบใด สถาปัตยกรรมแบบโรมัน ส่วนมากจะเป็นประติมากรรมเชิงศาสนาเช่นสร้างเทวรูป เทวาลัย แต่ยุคหลังๆรูปร่าง รูปทรงจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการขัดถูผิวหินให้เรียบเนียนขึ้น ดูเป็นรรมชาติมากขึ้น ส่วนสถาปัตยกรรมใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้นๆ โดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่างๆ ปกติสถาปนิกจะสร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะ ระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบๆวิหารมีความสว่าง และมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอิยิปต์ และมีขนาดไม่ใหญ่โตจนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย
ศิลปะกรรมแบบเรอนาซองในส่วนของสถาปัตยกรรมแบบเรอนาซองจะเน้นความสมมาตร ความได้สัดส่วน การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฎในสถาปัตยกรรมคลาสิค
ส่วนศิลปะอีกแบบหนึ่งเป็นแบบบารอค/โรโคโค ประติมากรรมแบบโรโคโคจะเป็นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ และเป็นรูปแกะสลักหินอ่อน เรื่องที่ใช้ปั้นส่วนมากจะเป็นเรื่องรัก เรื่องสนุก และเรื่องธรรมชาติ รูปปั้นส่วนใหญ่จะเป็นรูปคิวปิด
บ้านเลขที่ 200-203 ถนน มณีนพรัตน์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามแจ่งหัวริน คูเมืองรอบใน ด้านข้างเป็นสถานที่ก่อสร้างที่จะเป็นร้านตัดผมในไม่ช้านี้ อีกด้านเป็นคลีนิกทำฟันร้างที่มีความน่าสะพรึงกลัวสูง
บ้านแจ่งหัวรินแบ่งออกเป็นสองอาคาร อาคารสีขาวด้านหน้ากับอาคารสีทองด้านหลัง ส่วนด้านซ้ายมือเป็นบ้านพักของเจ้าของบ้าน ซึ่งในส่วนของอาคารสีขาวจะเป็นสถาปัตยกรรมเรอนาซอง ส่วนอาคารสีทองนั้นจะเป็นสถาปัตยกรรมบารอค/โรโคโค ถ้าหากมองผ่านๆ อาจคิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบเดียวกัน เพราะมีความคล้ายคลึงกันมาก เนื่องจากทั้งเรอนาซองและบารอค/โรโคโคล้วนได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมกรีกโรมันทั้งสิ้น สถาปัตยกรรมทั้งสองจึงมีความวิจิตรงดงามไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนสิ่งที่ทำให้ทั้งสองมีความแตกต่างกันก็คือ สถาปัตยกรรมบารอค/โรโคโคจะหรูหราและดูฟุ่มเฟือยมากกว่าเรอนาซองที่เน้นความงามทางอุดมคติและความสมมาตรได้สัดส่วน
หากท่านเดินเข้ามาในบริเวณอาคารก็จะพบรูปปั้นสิงโตยืนต้อนรับอยู่หน้าบ้าน ภายในอาคารสีขาวแสดงสถาปัตยกรรมกรีกโรมันแสดงถึงความหรูหราและความมีฐานะของเจ้าบ้านพอสมควร ชั้นล่างของตัวอาคารสีขาว มีการตกแต่งด้วยศิลปะแบบกอธิคผสมเรอนาซองค์ หน้าต่างเป็นหน้าต่างแบบกระจกสีซึ่งรอบหน้าต่างมีประติมากรรมแบบนูนสูง ก่อนขึ้นไปชั้นสองของตัวบ้านข้าพเจ้าได้สังเกตุเห็นสิงโตปูนตัวโตนั่งอยู่ด้านข้างของบันได เมื่อขึ้นไปบนชั้นสองของตัวบ้านเป็นห้องพักสไตล์โรมันซึ่งเสมือนว่ายังตกแต่งไม่เสร็จดีนัก หากเดินขึ้นไปบนชั้นสามก็จะเห็นเป็นโถงโล่งเสมือนว่าจะสร้างเป็นห้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนาด้านข้างของห้องโถงนั้น มีระเบียงยื่นออกมาหน้าบ้านซึ่งมีรูปปั้นประติมากรรมมากมายอยู่ที่ระเบียงนั้น ชั้นบนเป็นชั้นดาดฟ้าซึ่งสามารถมองลงมาเห็นทัศนียภาพของแจ่งหัวรินได้ซึ่งระเบียงโดยรอบของดาดฟ้ามีประติมากรรมรูปแพะตั้งอยู่
บริเวณโดยรอบตัวอาคารประกอบไปด้วยประติมากรรมภาพนูนสูงรูปเทวดาติดตั้งอยู่ ด้านหน้าตัวอาคารมีรูปปั้นสัตว์ทะเลอยู่ด้วย ซึ่งหากมองขึ้นไปด้านบนจะพบกับเทวรูปมากมายที่ติดตั้งอยู่โดยรอบของตัวอาคารก่อนเดินเข้ามาด้านข้างของตัวอาคารจะพบกับเสาซึ่งเป็นแหล่งรวมของสถาปัตยกรรมมากมาย ตัวเสาเป็นสถาปัตยกรรมแบบดอริค ไอออนิค และโครินเธียน ตามลำดับซึ่งจะมีสถาปัตยกรรมมากมายอยู่มากมายบริเวณเสานั้นเมื่อเดินเข้ามาด้านข้างของตัวอาคารท่านจะพบกับประติมากรรมภาพนูนสูงมากมายติดอยู่กับตัวกำแพงเดินเข้าไปด้านหลังของตัวอาคารจะพบกับสวนที่ตกแต่งแบบเทพนิยายมองเข้าไปด้านในจะพบกับรูปปั้นเทพเจ้ากรีกโบราณซึ่งสวนจะตกแต่งในสไตล์เทพนิยายซึ่งข้าพเจ้าได้สังเกตุเห็นรูปปั้นอบบกรีกโรมันที่แสดงสีหน้าหดหู่ จากนั้นข้าพเจ้าจึงเดินผ่านสวนมายังอาคารสไตล์บารอค/โรโคโค
หลังจากตื่นตากับอาคารสีขาวสไตล์กรีกโรมันและสวนแห่งเทพนิยาย ข้าพเจ้าก็ได้พบเห็นกับรูปปั้นสิงโตที่มีท่วงท่าน่าเกรงขามและอาคารที่มีสีสันจัดจ้านกว่าเดิม อาคารหลังนี้ตกแต่งด้วยสีทองเป็นหลัก แซมด้วยน้ำเงินและแดง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงตัวประติมากรรมอีกด้วย ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวทำให้อาคารหลังนี้ดูโดดเด่นสะดุดตาเป็นอย่างมาก
รอบๆตัวอาคารตกแต่งด้วยประติมากรรมหลากหลายสไตล์ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นเทพเจ้า ภาพนูนสูง ภาพนูนต่ำ และภาพแกะสลัก ทำให้โดดเด่นเมื่อตัดกับฉากหลังที่เป็นตัวตึกสีทอง แซมด้วยน้ำเงินและแดง
เมื่อเดินเข้าไปด้านในตัวอาคารจะพบกับประตูหน้าอันอลังการมีภาพแกะสลักบริเวณด้านบนของประตูเป็นรูปต่างๆและเมื่อเปิดประตูเข้าไปจะพบกับโถงขนาดใหญ่คล้ายห้องอาหาร การตกแต่งภายในห้องโถงนี้มีความผสมผสานกันระหว่างบารอคกับเปอร์เซีย เพดานเป็นภาพนูนสูงสไตล์โรโคโคสีทอง ผนังห้องเป็นอาร์คโค้งติดกระจกเงาขนาดใหญ่ทำให้ห้องดูกว้างขึ้น พื้นห้องบุพรมอย่างดีทำให้เมื่อเดินอยู่ในห้องแล้วรู้สึกสบายเท้า เมื่อเดินผ่านห้องอาหารเข้ามาจะพบกับบันไดสำหรับขึ้นด้านบนซึ่งเมื่อขึ้นไปแล้วจะพบกับห้องว่างขนาดใหญ่ซึ่งดูเหมือนว่าจะสร้างเป็นห้องสำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนาเพดานห้องประดับประดาด้วยภาพนูนสูงที่ทำเป็นช่องสำหรับไว้โคมไฟ ด้านในห้องทำพิธีมีประตูขนาดเล็กซึ่งเมื่อเปิดออกไปจะพบกับระเบียงขนาดเล็กด้านหน้าตัวบ้านและเมื่อเดินกลับลงมายังห้องโถงจะพบกับช่องประตูซึ่งเมื่อเดินเข้าไปแล้วจะพบกับบันไดวนสำหรับเดินลงชั้นใต้ดินของบ้านซึ่งเมื่อเดินลงมาจะพบกับห้องพักขนาดใหญ่สองห้องซึ่งมีความหรูหรามากซึ่งหากเดินต่อเข้ามาจะพบกับประตูลับออกมาด้านข้างของตัวอาคารซึ่งจะมาบรรจบกับสวนแห่งเทพนิยายนั่นเอง
ภาพรวมของศิลปะและองค์ประกอบของบ้านแจ่งหัวรินนคร
ด้านสถาปัตยกรรม
อาคารหลังแรกนั้นตกแต่งในสไตล์กรีกโรมันโบราณซึ่งเมื่อมองดูแล้วจะรับรู้ได้ถึงความหรูหราของเจ้าของบ้านและรสนิยมอันเป็นส่วนตัวคือ สิงโต และ แพะ ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าลองคิดคิดดูข้าพเจ้าคิดว่าอาจจะเป็นราศีเกิดของเจ้าของบ้านคือ ราศีเมษ และ ราศีสิงห์ มิฉะนั้นก็อาจจะเป็นความชอบส่วนบุคคล หรืออาจจะเป็นการต้องการความหมายทางสัญลักษณ์คือ เพื่อเสริมบารมี ก็เป็นได้
ส่วนอาคารหลังที่สองนั้นตกแต่งในสไตล์บารอค/โรโคโคมองดูแล้วแสดงถึงความหรูหราของเจ้าของบ้านยิ่งขึ้นไปอีก เสมือนว่าเจ้าของบ้านต้องการสื่อให้เห็นว่าเจ้าของบ้านชื่นชอบในศิลปะสไตล์บารอค/โรโคโคอย่างแท้จริง
ด้านประติมากรรม
อาคารหลังแรกประติมากรรมเป็นแบบรูปปั้นลอยตัวเป็นซะส่วนมาก แต่ที่ข้าพเจ้าเห็น ส่วนมากอาคารหลังนี้จะตกแต่งด้วยเทวรูปและรูปปั้นสัตว์คือ แพะ และ สิงโต เสียส่วนใหญ่
ส่วนภาพนูนสูงและภาพนูนต่ำจะเป็นงานสไตล์เก่าและโบราณ อีกทั้งยังพบเห็นเสาหินที่ออกแบบคล้ายกับว่าจะเลียนแบบเสาหินแบบโบราณอีกด้วย
อาคารหลังที่สอง ด้านนอกพบเห็นรูปปั้นเทวดาและสิงโต ที่ดูขึงขัง ดุดัน ทะมัดทะแมง กระฉับกระเฉง แสดงให้ถึงพลังอำนาจและแสดงความน่าเกรงขามให้แกผู้พบเห็น ส่วนภายในนั้น มีรูปปั้นเป็นองค์ประกอบย่อย โดยสิ่งที่เห็นหลักแท้แล้วก็คือภาพนูนสูงสไตล์บารอคและบัลลังค์สิงห์สไตล์เปอร์เซีย โคมไฟด้านในอาคารเป็นโคมไฟที่เป็นภาพนูนต่ำ แกะสลักติดกับเพดานห้องซึ่งข้าพเจ้ามองแล้วรู้สึกถึงความหรูหราขึ้นมาโดยทันที
ภายในสวน พบรูปปั้นที่ถูกนำมาทำเป็นโคมไฟแสดงให้เห็นถึงรสนิยมอันเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้านโดยแท้จริง
บทวิจารณ์
ในการสำรวจอาคารทั้งสองหลังทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า หากศิลปะมาอยู่รวมกันมากจนเกินความจำเป็น อย่างเช่นการนำเสาหินทั้ง สาม แบบ อันได้แก่ดอริค ไอออนิค โครินเธียนมาใช้รวมกันเพื่อตกแต่งอาคาร เป็นต้น ซึ่งจากที่อาคารนั้นจะดูสวยงาม สง่า และทรงคุณค่า จะกลับกลายเป็นว่าดูฟุ่มเฟือย ดาษดื่น และ เลี่ยนจนเกินไป แสดงถึงความไม่แน่นอนของเจ้าของบ้าน แต่ถึงกระนั้นข้าพเจ้าก็ไม่สามารถที่จะตั้งแง่ขุ่นแคลงใจหรือเปลี่ยนแปลงรสนิยมผู้ใดได้ และนี่อาจจะเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ที่อยากจะแต่งบ้านว่าจะแต่งบ้านอย่างไรให้ออกมาดูพอดี ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป และสามารถตอบสนองความต้องการและวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านในปัจจุบันได้อย่างลงตัว สุดท้ายนี้หากข้าพเจ้ากระทำอะไรที่ผิดพลาดหรือเป็นการล่วงล้ำเขตพื้นที่อยู่อาศัย ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบพระคุณท่านเจ้าของบ้านผู้กรุณาให้เรานำเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของท่านมาแนะนำในเว็บบล๊อกแห่งนี้
เพิ่มเติมความรู้
ศิลปโรโคโค (อังกฤษ: Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้
ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)
ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี ศิลปโรโคโคแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโคโคฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง
พอถึงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและไต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโคโคที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิล และ ซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสเคนี และ โรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก
โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิกซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิคเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18
ศิลปโรโคโคเริ่มเสื่อมความนิยมกันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชนเช่นวอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่าศิลปโรโคโคเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ "รก" เพราะจะเต็มไปด้วยลวดลายหอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่นๆสารพัด[1] พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปโรโคโคก็เสื่อมความนิยมในประเทศฝรั่งเศส ศิลปนีโอคลาสสิกที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของจาค์ส ลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David) ขณะเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีก็ค่อนและเรียกศิลปโรโคโคว่า Zopf und Perücke (ภาษาอังกฤษ: pigtail and periwig) หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า "Zopfstil" ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะ") ที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส เข้ามาแทนที่
ระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโคโคก็มีการฟี้นฟูขึ้นมาอีก ศิลปินอังกฤษเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่หันมาฟี้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า "แบบหลุยส์ที่ 14" เมื่อพูดถึงโรโคโค ศิลปโรโคโคที่ไม่มีใครซื้อที่กันปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ แต่ศิลปินคนสำคัญเช่นยูจีน เดอลาครัวส์ (Eugène Delacroix) และ ผู้อุปถัมภ์ศิลปะเช่นจักรพรรดินียูจีน (Empress Eugénie) (พระมเหสีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3) ก็ซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปโรโคโคเพราะความความอ่อนช้อยและความมีลูกเล่น
อ้างอิงจาก : th.wikipedia.org/wiki/ศิลปะโรโคโค
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)